เหตุการณ์ที่ต้องจับตาสัปดาห์หน้า

วัน Brexit อย่างเป็นทางการได้มาถึงแล้ว อย่างไรก็ตามสัปดาห์หน้าประเด็นสำคัญอยู่ที่ BoE และ FOMC ในขณะที่โลกกำลังให้ความสำคัญกับไวรัสโคโคน่าสายพันธุ์ใหม่ จะถูกกักไว้ได้ดีแค่ไหน โปรดทราบว่าตลาดในจีน เกาหลีใต้ และใต้หวันปิดในช่วงวันหยุดตรุษจีน ไปจนถึงสิ้นสัปดาห์หน้า

วันจันทร์ – 27 มกราคม 2020


  • IFO เยอรมัน (EUR, GMT 09:00) – ดัชนีความเชื่อมั่นเยอรมันออกโดย CESifo Group ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้เงื่อนไขธุรกิจปัจจุบัน และเป็นความคาดหวังของธุรกิจในเยอรมัน โดยตัวเลขเดือนมกราคมคาดว่าจะลดลง

วันอังคาร – 28 มกราคม 2020


  • สินค้าคงทน (USD, GMT 13:30) – สินค้าคงทนเป็นตัวบ่งชี้นำของการผลิตในสหรัฐ คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธันวาคมสหรัฐคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.0% ด้วยการเพิ่มขึ้น 6.0% ในคำสั่งซื้อภาคการขนส่ง หลังจากเคยติดลบ -2.1% ในเดือนพฤศจิกายน จากการที่คำสั่งซื้อภาคการขนส่งลดลง -5.9% คำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งลดลง 3 หลังจากเคยเด้งขึ้นมาเป็น 63 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งต้องขอบคุณงานดูไบแอร์โชว์
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของคณะกรรมการชิคาโก (USD, GMT 15:00) – ดัชนีคณะกรรมการชิคาโก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 126.5 ในเดือนธันวาคมเป็น 127.2 ในเดือนมกราคม

วันพุธ – 29 มกราคม 2020


  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (AUD, GMT 00:30) – เงินเฟ้อคาดว่าไม่เปลี่ยนแปลงใกล้ 1.7% ต่อปี หลังจากที่เคยอยู่ต่ำกว่าที่ 0.5% ในไตรมาส 4
  • การประชุมตัดสินใจอัตราดอกเบี้ย (USD, GMT 19:00) – คาดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการประชุมเฟด โดยเฟดยังคงหนุนช่วงของการกระชับนโยบาย หลังจากที่มีการลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้งเมื่อปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามคาดว่าอาจมีการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

วันพฤหัสบดี – 30 มกราคม 2020


  • การประชุมตัดสินใจอัตราดอกเบี้ย (GBP, GMT 12:00) คาดว่า BoE จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ โดยเฉพาะหลังจากที่วันนี้ดัชนี PMI เดือนมกราคมออกมาตามคาด สถานะในตลาด OIS ตอนนี้ความเป็นไปได้อยู่ที่ 47% ที่ BoE จะหั่นอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในวันที่ 30 มกราคมในการประชุม MPC ในสัปดาห์หน้า ดังนั้นตลาดจึงยังคาดการณ์นโยบายการเงินได้ง่ายอยู่ แม้จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ดูแลนโยบายยังคงจับตาผลกระทบเต็มที่หลังจาก Brexit รวมถึงหมอกควันทางการเมืองหลังการเลือกตั้งเดือนธันวาคม โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่กำลังมองหาทางออก
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (USD, GMT 13:30) –  การเติบโต GDP ไตรมาสที่ 4 คาดหวังอยู่ที่ 2.4% ด้วยการส่งออกสุทธิที่เพิ่มขึ้น $67 พันล้าน เนื่องจากการนำเข้าที่ลดลง แต่ตัวเลขที่ดูเหมือนเยอะ แต่ก็ต้องไปหักล้างกับสินค้าคงคลังไตรมาส 4 ที่ -$53 ทำให้เหลือสัดส่วนเพียง $17 พันล้าน
  • แกน CPI โตเกียว (JPY, GMT 23:30) – CPI โตเกียว โดยปกติแล้วจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาพรวมอัตราเงินเฟ้อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เดือนมกราคมา CPI ไม่รวมราคาอาหารคาดว่าจะยืนอยู่ที่ 0.6% ต่อปี ต่ำกว่าเดือนธันวาคม แม้จะมีการปรับปรุงตัวเลขเมื่อตัวเลขค้าปลีกถูกนำมาพิจารณาด้วย
  • ค้าปลีก (JPY, GMT 23:50) – ตามสองเดือนที่ดิ่งเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน เนื่องจากผลกระทบจาการส่งออกที่ยืดเยื้อยาวนานจากความต้องการของตลาดโลกที่ลดลง รวมถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลงด้วย หลังจากที่มีการขึ้นภาษี ค้าปลีกเดือนธันวาคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.7% ในตัวเลขอัตราต่อปี

วันศุกร์ – 31 มกราคม 2020


  • เส้นตาย Brexit

คลิก ที่นี่ เพื่อดูปฏิทินเศรษฐกิจ

Andria Pichidi

Market Analyst

คำเตือน: บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสารด้านการตลาดทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่การวิจัยเพื่อการลงทุน และไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ที่ประกอบด้วยคำแนะนำเพื่อการลงทุนหรือถูกพิจรณาว่าเป็นคำแนะนำเพื่อการลงทุน หรือชักชวนให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และทุกข้อมูลประกอบด้วยผลงานในอดีตที่ไม่สามารถรับประกัน หรือชี้วัดผลงานในอนาคตได้ ผู้ใช้พึงเข้าใจว่าการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มี Leveraged มีลักษณะเฉพาะที่มีระดับความเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องแบกรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ทางเราจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายจากการลงทุนใดๆ ที่เกิดจากการนำข้อมูลนี้ไปใช้ ข้อมูลนี้จะต้องไม่มีการผลิตซ้ำหรือแจกจ่ายโดยปราศจากการได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร