AUDJPY, H4
สิ้นสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดได้ปิดรับความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ตลาดหุ้นลดลงอย่างหนัก โดย S&P 500 ลดลงกว่า 5.68%, Dow ลดลง 4.58% และ Nasdaq ลดลงมากสุดที่ -7.55% ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ของวอลสตรีทที่ผสมผสาน ความกังวลดังกล่าวคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปในสัปดาห์นี้ กับรายงานผลประกอบการของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวอลสตรีท อย่าง #Microsoft, #Tesla และ #Apple รวมถึงการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยของเฟดในคืนวันพุธนี้ อย่างไรก็ตามฟิวเจอร์สหรัฐฯ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเช้าวันนี้
การปิดรับความเสี่ยงในสัปดาห์ที่ผ่านมา มองเห็นได้ชัดจากดัชนีความกลัว VIX.F ที่ทำจุดสูงสุดในรอบหกสัปดาห์ที่ 27.57 ในวันศุกร์ และตอนนี้เทรดอยู่ที่ 26.27 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปิดสัปดาห์ที่โซน 1.76% หลังจากขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบปีที่โซน 1.90% และตอนนี้อยู่ที่ 1.77%
ในส่วนของตลาด FX เห็นได้ว่ากลุ่มสกุลเงิน safe haven ทำผลงานได้เหนือกว่ากลุ่มสกุลเงินคอมโมดิตี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคู่ AUDUSD -40 pips, คู่ USDJPY -45 pips ในขณะที่ AUDJPY ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคู่สกุลเงินชี้วัดความเชื่อมั่นตลาด ได้ปิดสัปดาห์ลดลง -74 pips
สำหรับความเคลื่อนไหวของคู่ AUDJPY ในสัปดาห์ที่ผ่านมา BoJ ได้คงอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงินไว้ตามคาด แต่ได้มีการปรับเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อปี 2022 เป็น 1.1% จาก 0.9% ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มประมาณการครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014 ในขณะที่ทางฝั่งของออสเตรเลีย ตัวเลขอัตราว่างงานเดือนธันวาคมได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2008 ที่ 4.2% จาก 4.6% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 64.8K สู่สถิติการจ้างงานสูงสุดที่ 13.24 ล้านตำแหน่ง สูงกว่า 43.3K ที่มีการคาดการณ์ไว้
ล่าสุดรายงาน PMI ภาคบริการเดือนมกราคมของ ออสเตรเลีย หดตัวอีกครั้งในรอบสี่เดือนที่ 45 จาก 55.1 ในเดือนธันวาคม ส่วน PMI ภาคการผลิตเดือนมกราคมลดลงอยู่ที่ 55.3 จาก 57.7 ในเดือนธันวาคม แสดงถึงการเติบโตช้าสุดในรอบห้าเดือน เช่นเดียวกับการอ่านค่าเบื้องต้น PMI ภาคบริการเดือนมกราคมของ ญี่ปุ่น ที่หดตัวครั้งแรกในรอบสี่เดือน ที่ 46.6 จาก 52.5 ในเดือนก่อนหน้า ส่วน PMI ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 54.6 จาก 54.3 ที่เห็นในเดือนธันวาคม
ในมุมมองเทคนิคอล คู่ AUDJPY กำลังปิดลบต่อเนื่องเข้าสู่สัปดาห์ที่สี่ โดยในไทม์เฟรม Day ราคาได้หลุดเส้น MA200 ลงมาชัดเจน และอาจเป็นการยืนยันขาลงรอบใหม่ ที่ MACD ตอนนี้กำลังเข้าสู่แดนลบ และ RSI ลดลงสู่ระดับ 40 ในขณะที่แนวโน้มระยะสั้น มองเห็นราคาสวิงอยู่ในกรอบขาลงในไทม์เฟรม H4 ที่มีแนวรับถัดไปอยู่ที่โซน 80.50 ที่หากราคาเด้งจากเส้นกรอบล่างอีกครั้ง จะมีแนวต้านแรกที่ 82.10
ข้อมูลบนปฎิทินเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ เงินเฟ้อ CPI ไตรมาส 4 ของออสเตรเลีย ที่คาดว่าจะสูงขึ้นที่ 3.2% จาก 3.0% ในไตรมาสก่อน
คลิกเพื่อดู ปฏิทินเศรษฐกิจ หรือ สัมมนาออนไลน์ฟรี
Chayut Vachirathanakit
Market Analyst – HF Educational Office – Thailand
คำเตือน: เนื้อหานี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสารการตลาดทั่วไป เพื่อเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น และไม่ถือเป็นการวิจัยเพื่อการลงทุนอิสระ ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของการสื่อสารนี้ที่ประกอบด้วย หรือควรถูกพิจารณาว่าประกอบด้วย คำแนะนำการลงทุน หรือการชักชวนลงทุน หรือการชักชวนเพื่อวัตถุประสงค์ของการซื้อหรือขายตราสารทางการเงินใดๆ ข้อมูลทั้งหมดถูกรวบรวมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และทุกข้อมูลประกอบด้วยตัวบ่งชี้ผลงานในอดีต ไม่ได้เป็นการรับประกันหรือเป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือสำหรับผลงานในอนาคต ผู้ใช้พึงทราบว่าการลงทุนใดๆ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Leveraged มีความไม่แน่นอนในระดับหนึ่ง และการลงทุนในลักษณะนี้มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูง ซึ่งผู้ใช้ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทางเราไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆ ที่เกิดจากการลงทุนโดยใช้ข้อมูลที่เกิดจากการสื่อสารนี้ การสื่อสารนี้จะต้องไม่ถูกผลิตซ้ำหรือแจกจ่ายต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเรา