เหตุการณ์ที่ต้องจับตาสัปดาห์หน้า


  • Gross Domestic Product (JPY, Sunday GMT 23:50) – การเติบโตในญี่ปุ่นคาดว่าจะโตเพิ่มขึ้น 0.4% ในไตรมาสแรก ต่ำกว่าครั้งที่แล้วเล็กน้อย สะท้อนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ต่ำกว่าคาด การเติบโตทั้งปีมองเห็นที่ 1.8% หลังการเติบโตแข็งแกร่งกว่าที่คิดที่ 2.1%
  • Trade Balance (CNY, GMT 02:00) – สัญญาการส่งออกเดือนพฤษภาคมคาดการณ์อยู่ที่ 3.8% y/y จาก 2.7% y/y ดุลการค้าคาดว่าจะโตที่ตัวเลข $20.5 พันล้าน ในเดือนพฤษภาคมจาก $13.83 พันล้านในเดือนมีนาคม รายงานนี้แสดงให้เห็นเศรษฐกิจภายในประเทศจีนที่ชะลอตัวอย่างสม่ำเสมอ (นำเข้าลดลง) และผลกระทบจากสงคราการค้ากับสหรัฐ (ส่งออกลดลง)
  • Industrial and Manufacturing Production (GBP, GMT 08:30) – ดัชนีหุ้นทั้งสองตัวคาดว่าลดลงไปที่ 0.1% m/m และ 0.2% m/m ในเดือนเมษายนเป็นการยืนยันว่าภาคธุรกิจนี้กำลังหดตัว

วันอังคาร – 11 มิถุนายน 2019


  • Average Earnings Index 3m/y (GBP, GMT 08:30) – ตัวเลขรายรับรวมโบนัสของอังกฤษคาดว่าเพิ่มขึ้นที่ 3.4% y/y ในระยะเวลาสามเดือนจนถึงเมษายนเพิ่มขึ้นจาก 3.2%y/y เมื่อเดือนมีนาคม
  • ILO Unemployment Rate (GBP, GMT 08:30) – อัตราว่างงานของอังกฤษคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 3.9% หลังจากที่เคยลดลงอย่างไม่คาดดิดที่ 3.8% เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นอัตราตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 1974

วันพุธ – 12 มิถุนายน 2019


  • Consumer Price Index (CNY, GMT 01:30) – ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคของจีนเดือนพฤษภาคมคาดว่าจะโตขึ้นเป็น 2.7% y/y ต่อเนื่องจากเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นที่ 2.5% y/y
  • Consumer Price Index and Core (USD, GMT 12:30) ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วน CPI เพิ่มขึ้น 0.2% ในส่วนของราคาแกน ตามด้วยเดือนเมษายนอ่านค่าได้ที่ 0.3% และ 0.1% ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้อัตรารายปีควรเพิ่มขึ้น 1.9% ลดลงจาก 2.0% เมื่อเดือนเมษายน ขณะที่ราคาแกนควรเพิ่มขึ้น 2.1% อย่างมั่นคงตั้งแต่เดือนเมษายน โดยรวมแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง แม้กระแสการสิ้นสุดของไตรมาส 1 และการเริ่มต้นของไตรมาส 2 กับการที่ราคาน้ำมันเด้งขึ้นมาและร่วงลงในเดือนพฤษภาคม

วันพฤหัสบดี – 13 มิถุนายน 2019


  • Employment Data (AUD, GMT 01:30) – ขณะที่อัตราว่างงานได้รับการอัดฉีดจนสามารถพลิกมาอยู่ที่ 5.1% ในเดือนพฤษภาคม การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานคาดว่าจะผ่อนคลายลง มีการเพิ่มขึ้น 14K เมื่อเทียบกับ 28.4K ของเดือนก่อนหน้า
  • Harmonized Index of Consumer Prices (EUR, GMT 06:00) – ดัชนีเงินเฟ้อ HICP เยอรมันลดลงในเดือนเมษายนอยู่ที่ 1.3% y/y จาก 2.1% y/y อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 2.1% y/y อีกครั้ง
  • SNB Interest Rate Decision and Press Conference (CHF, GMT 07:30) – ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์คาดว่าจะไม่มีอะไรเซอร์ไพรซ์ตลาด เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าสวิสจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ -0.75% อย่างไรก็ตามสวิสฟรังค์ที่แข็งแกร่งเวลานี้ สร้างความกังวลให้ SNB อีกครั้งว่าอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด

วันศุกร์ – 14 มิถุนายน 2019


  • Retail Sales and Industrial Production (USD, GMT 12:30) – ค้าปลีกคาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 0.6% สำสรับเดือนพฤษภาคม และ 0.3% สำหรับยอดขายรถยนต์ ตามมาด้วยตัวเลข -0.2% สำหรับเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้น 0.1% ในกลุ่มรถยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตได้รับการอัดฉีดเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่เคย -0.5% ในเดือนเมษายน
  • Michigan Consumer Sentiment Index (USD, GMT 14:00) – ผลเบื้องต้นของดัชนีความเชื่อมั่น (Sentiment Index) คาดว่าจะได้เห็นตัวเลขเมื่อเดือนเมษายนอีกครั้งที่ตัวเลขต่ำกว่า 100 และอาจจะอยู่ที่ 98

คลิก ที่นี่ เพื่อดูปฏิทินเศรษฐกิจ

Andria Pichidi

Market Analyst

คำเตือน: บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสารด้านการตลาดทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่การวิจัยเพื่อการลงทุน และไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ที่ประกอบด้วยคำแนะนำเพื่อการลงทุนหรือถูกพิจรณาว่าเป็นคำแนะนำเพื่อการลงทุน หรือชักชวนให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และทุกข้อมูลประกอบด้วยผลงานในอดีตที่ไม่สามารถรับประกัน หรือชี้วัดผลงานในอนาคตได้ ผู้ใช้ต้องเข้าใจว่าการลงทุนใน FX และผลิตภัณฑ์ CFDs มีลักษณะเฉพาะที่มีระดับความเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องแบกรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ทางเราจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายจากการลงทุนใดๆ ที่เกิดจากการนำข้อมูลนี้ไปใช้ ข้อมูลนี้จะต้องไม่มีการผลิตซ้ำหรือแจกจ่ายโดยปราศจากการได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร