USDIndex, Day
หลังจากการขยับขึ้นอย่างแข็งแกร่งสู่ระดับ high รอบปีเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา USDIndex ได้มีการปรับฐานลดลงในช่วงท้ายสัปดาห์ แม้ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 และเงินเฟ้อ PCE เดือนสิงหาคมจะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามดัชนีดอลลาร์ยังคงตรึงแข็งแกร่งที่บริเวณโซน high เหนือ 94.00 จากความคาดหวังที่ว่า Fed อาจมีการลดการจัดซื้อพันธบัตรในเดือนพฤศจิกายน และลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ตัวเลข Non-Farm เดือนกันยายน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 460k จาก 235k ในเดือนสิงหาคม
สำหรับการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ สอดคล้องกับการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ที่ผลตอบแทน 10 ปีของสหรัฐฯ ที่ได้ย่อลงจากบริเวณ high รอบหลายเดือนที่ 1.56% มาอยู่ที่ 1.47% ในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นกลับมาอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ โดย S&P 500 +1.15%, Dow +1.43%, Nasdaq +0.82%
การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการกลับตัวในตลาด Forex โดยคู่ GBPUSD สามารถกลับขึ้นมาจากโซน low ของปี 1.3410 แต่ยังคงกดดันต่ำกว่าแนวต้าน 1.3600 และตอนนี้เทรดอยู่ที่ 1.3536 คู่ EURUSD ไม่ได้กลับตัวอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด เนื่องจากผลการเลือกตั้งในเยอรมันและการแสดงทัศนะของบรรดาธานาคารกลางที่ ECB ส่งผลให้คู่นี้ยังคงตรึงอยู่บริเวณ low รอบ 13 เดือนต่ำกว่า 1.1600 คู่ USDJPY ลดลงจากโซนแนวต้านสำคัญ 112.00 ตอนนี้เทรดที่ 111.00 ขณะที่คู่ AUDUSD สามารถขึ้นจากโซน low ของเดือน 71.69 มาเทรดที่ 72.60 เช้านี้ แต่ยังคงกดดันด้วยแนวโน้มขาลง ที่จะมีการประชุมของ RBA ในวันพรุ่งนี้
ในส่วนของราคา ทองคำ สามารถกลับขึ้นมาจากโซน low รอบหลายสัปดาห์ 1,722 ตอนนี้เทรดอยู่ที่ 1,758 ขณะที่ USOil ยังคงพักตัวสร้างฐานรอการประชุมของ OPEC ที่โซน 75.00
ในมุมมองเทคนิคอล การลดลงของ USDIndex สอดคล้องกับการย่อลงจากโซน overbought ของ RSI และน่าจะเป็นเพียงการปรับฐานระยะสั้นหลังจากที่ทะลุขึ้นทำ high ใหม่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 93.50 แต่โดยรวมยังคงมีแนวโน้มแข็งแกร่งอยู่ในกรอบขาขึ้น ที่มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่โซน high เดิม 94.50 ซึ่งหากสามารถทะลุขึ้นไปได้ จะมีเป้าหมายถัดไปที่ระดับ 261.8 ของ Fibo ที่โซน 96.60 (ลากจาก high 20 สิงหาคม ไปหา low 3 กันยายน)
สำหรับข้อมูลสำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ได้แก่ ISM-PMI นอกภาคการผลิต และตัวเลขจ้างงาน Non-Farm รวมถึงการพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้ของสภาคองเกรส และสถานการณ์ Covid ที่ยังคงรุนแรงอยู่ในขณะนี้
คลิกเพื่อดู ปฏิทินเศรษฐกิจ หรือ สัมมนาออนไลน์ฟรี
Chayut Vachirathanakit
Market Analyst – HF Educational Office – Thailand
คำเตือน: เนื้อหานี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสารการตลาดทั่วไป เพื่อเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น และไม่ถือเป็นการวิจัยเพื่อการลงทุนอิสระ ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของการสื่อสารนี้ที่ประกอบด้วย หรือควรถูกพิจารณาว่าประกอบด้วย คำแนะนำการลงทุน หรือการชักชวนลงทุน หรือการชักชวนเพื่อวัตถุประสงค์ของการซื้อหรือขายตราสารทางการเงินใดๆ ข้อมูลทั้งหมดถูกรวบรวมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และทุกข้อมูลประกอบด้วยตัวบ่งชี้ผลงานในอดีต ไม่ได้เป็นการรับประกันหรือเป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือสำหรับผลงานในอนาคต ผู้ใช้พึงทราบว่าการลงทุนใดๆ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Leveraged มีความไม่แน่นอนในระดับหนึ่ง และการลงทุนในลักษณะนี้มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูง ซึ่งผู้ใช้ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทางเราไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆ ที่เกิดจากการลงทุนโดยใช้ข้อมูลที่เกิดจากการสื่อสารนี้ การสื่อสารนี้จะต้องไม่ถูกผลิตซ้ำหรือแจกจ่ายต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเรา