ข่าว FX วันนี้
- ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนแรงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วง ท่ามกลางการย้ายไปเทรดในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่ยังคงยืดเยื้อต่อไป
- สื่อจีนได้ให้ความเห็นเมื่อวานนี้ว่าปักกิ่งอาจจำกัดการส่งออกแร่หายาก (rare earths minerals) ที่ใช้ในระบบป้องกันและรวมถึงกลุ่มพลังงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกดดันสหรัฐโดยเฉพาะ เป็นการตอกย้ำว่าสงครามการค้ากำลังบานปลายยิ่งขึ้นก่อนการเจรจา
- โดยพื้นหลังนั้น ตัวเลข GDP และข้อมูลเงินเฟ้อพรุ่งนี้ยังคงอยู่ในการโฟกัสของ Bloomberg ที่มีการเน้นย้ำว่า “Fed model” แนะนำว่ามูลค่าหุ้นสหรัฐยังสามารถสูงกว่านี้ได้อีก แต่จะเป็นอย่างนั้นได้ Fed ต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
- ราคาน้ำเองมีการขยับขึ้นมาจากแนว lows และ WTI ฟิวเจอร์ซื้อขายกันอยู่ที่ 59.23 USD ต่อบาร์เรล
- ในยุโรป หุ้นฟิวเจอร์กำลังเข้าสู่จุดที่มีเสถียรภาพและผ่อนคลายจากความเสี่ยงในช่วงสั้นๆ การขยับขึ้นของตลาดฟิวเจอร์ตามมาด้วยฟิวเจอร์สหรัฐ
- พัฒนาการการเมืองยังคงเป็นเรื่องที่ต้องโฟกัสของยุโรป ท่ามกลางข่าวและเหตุการณ์ที่มีไม่มากนักบนปฏิทิน แม้หลังจากตัวเลขของฝรั่งเศสเมื่อวานนี้ ที่จะตามมาด้วย HICP เยอรมันพรุ่งนี้ และข้อมูลเงินเฟ้อสเปนที่อาจเป็นที่น่าสนใจ
กราฟวันนี้
มุมนักเทคนิค
- EURUSD – H1 – สร้าง lows ใหม่ที่ 1.1125 และลงต่อเนื่องเป็นวันที่สามแล้ว กลุ่มเทรดสินทรัพย์ปลอดภัยมุ่งหน้าสู่ Dollar และเป็นตัวขับเคลื่อนในสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลตัวเลขว่างงานเยอรมันแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ พร้อมความเห็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ ECB ที่เป็นตัวกดค่าเงิน Euro แนวรับอยู่แถว low ในรอบสองปีที่ 1.1107
- XAUUSD – H1 – โดนพัดไปที่ $1,276.25 เลื่อนลงไปอยู่ใต้ EMA 200-วัน ขณะที่เป็นวันที่สามแล้วที่ราคาอยู่โซนล่างของ Bollinger Bands ราคาทองอยู่ในรูปแบบสามเหลี่ยม (descending triangle) ตั้งแต่จุดสูงสุดของปี แนวรับมองเห็นอยู่ที่บริเวณ low ของวันที่ 22 พฤษภาคมที่ $1,272.45 และหากสามารถทะลุแนวนี้ลงไปได้จะเป็นการกลับไปทดสอบแนวรับสุดแข็งแกร่งที่ $1,266.25
เหตุการณ์สำคัญวันนี้
- Gross Domestic Product (USD, GMT 12:30) – GDP เบื้องต้นคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ในไตรมาสหนึ่ง เทียบกับตัวเลขล่วงหน้า 3.2% ที่ออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว ตามด้วยอัตราการเติบโต 2.2% ในไตรมาส Q4
- Tokyo CPI and Production Data (JPY, GMT 23:50) – ถือเป็นดัชนีหลักตัวหนึ่งของประเทศที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งคาดว่าน่าจะลดลงไปที่ 1.2% y/y ในเดือนพฤษภาคม ภาคอุตสาหกรรมการผลิตคาดว่าจะดีขึ้น โดยอาจโตถึง 0.2% m/m ในเดือนเมษายน เทียบกับ -0.6% m/m ในเดือนมีนาคม ขณะที่ตัวเลขค้าปลีกคาดว่าจะลดลง 0.8% y/y เทียบกับ 1.0% ในเดือนมีนาคม
แนวรับและแนวต้าน
Andria Pichidi
Market Analyst
คำเตือน: บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสารด้านการตลาดทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่การวิจัยเพื่อการลงทุน และไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ที่ประกอบด้วยคำแนะนำเพื่อการลงทุนหรือถูกพิจรณาว่าเป็นคำแนะนำเพื่อการลงทุน หรือชักชวนให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และทุกข้อมูลประกอบด้วยผลงานในอดีตที่ไม่สามารถรับประกัน หรือชี้วัดผลงานในอนาคตได้ ผู้ใช้ต้องเข้าใจว่าการลงทุนใน FX และผลิตภัณฑ์ CFDs มีลักษณะเฉพาะที่มีระดับความเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องแบกรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ทางเราจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายจากการลงทุนใดๆ ที่เกิดจากการนำข้อมูลนี้ไปใช้ ข้อมูลนี้จะต้องไม่มีการผลิตซ้ำหรือแจกจ่ายโดยปราศจากการได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร